19 พฤศจิกายน 2555

ถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์มีปริมาณลดลง กับผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว KTV ซึ่งเป็นสื่อโทรทัศน์ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงของจังหวัดขอนแก่น
เมื่อวันพุธที่ 14 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา กปภ.สาขาขอนแก่น(พ) โดย นายนนทศักดิ์ ภู่ภัทรางค์ ผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาค(ชั้นพิเศษ) สาขาขอนแก่น ได้ให้สัมภาษณ์ทั้งนี้ นายนนทศักดิ์ ภู่ภัทรางค์ ได้เปิดเผยเพิ่มเติมถึงมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนกรณีน้ำประปาไหลอ่อน หรือไม่ไหลจากสถานการณ์ภัยแล้ง โดย กปภ.สาขาขอนแก่น(พ) ใช้น้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์โดยผ่านทางแม่น้ำพอง ในการผลิตน้ำประปา ซึ่ง ณ ปัจจุบัน แม่น้ำพองได้ลดระดับลงอย่างมาก ทำให้ความสามารถในการสูบน้ำดิบเพื่อทำการผลิตน้ำประปาลดลง เป็นเหตุให้แรงดันน้ำในระบบจ่ายน้ำลดลง ซึ่งส่งผลทำให้อาจมีบางพื้นที่ซึ่งเป็นที่สูง และผู้ใช้น้ำบริเวณปลายท่อ น้ำไม่ไหลบางเวลาโดยเฉพาะช่วงเวลาที่ใช้น้ำมากๆคือช่วงเวลาเช้าและเวลาเย็น ทั้งนี้กปภ.สาขาขอนแก่น ได้มีการเตรียมความพร้อมและมาตรการป้องกันสถานการณ์ภัยแล้ง ดังนี้
-
ประสานกับกรมชลประทานแจ้งปริมาณความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาขอนแก่น(ชั้นพิเศษ) และการประปาส่วนภูมิภาคสาขาน้ำพองขอให้จัดสรรน้ำจำนวนไม่ต่ำกว่า โดยเฉลี่ย 168,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือ 40.32 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อระยะเวลา 8 เดือน
-
ประสานงานแจ้งให้ผู้ใช้น้ำรับทราบและเตรียมภาชนะสำหรับรองรับน้ำในยามขาดแคลนโดยผ่านทาง ผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กรท้องถิ่น สถานีวิทยุกระจายเลียงท้องถิ่น สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น และส่ง SMS แจ้งผู้ใช้น้ำ ตลอดจนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงสถานการณ์ภัยแล้งและการใช้น้ำอย่างประหยัด
-
จัดเตรียมรถขนส่งน้ำพร้อมคนขับ จำนวน 3 คัน เพื่อให้บริการผู้ใช้น้ำและหน่วยงานของรัฐตามร้องขอจ่ายน้ำช่วยราษฎรประสบภัยแล้งตามที่หน่วยงานของรัฐร้องขอ
ทั้งนี้กปภ.สาขาขอนแก่น(พ) ได้มีโครงการ แก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน โดยประสานกับโครงการบำรุงรักษาเขื่อนหนองหวาย กรมชลประทานขอรับความช่วยเหลือเครื่องสูบน้ำ จำนวน 4 เครื่อง สูบน้ำจากคลองพระคือส่งไปยังโรงกรองน้ำบ้านโกทา ซึ่งจะดำเนินการในวันที่ 15 พ.ย. 2555 นี้ และเพื่อให้มีการสำรองน้ำได้ดำเนินการขุดสระพักน้ำดิบที่สถานีผลิตน้ำบ้านโกทาให้สามารถเก็บน้ำได้ประมาณ 400,000 ลูกบาศก์เมตร และคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณ เดือน เมษายน 2556 และ ก่อสร้างโรงสูบน้ำดิบเพิ่มที่บริเวณสถานีสูบน้ำหนองหินเพื่อให้สามารถสูบน้ำจากแม่น้ำพองที่ลดระดับลงได้อย่างเพียงพอ และคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณ เดือน ธันวาคม 2556
โครงการแก้ไขปัญหาระยะกลาง โดยวางท่อน้ำดิบขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1,000 มิลลิเมตร จากบริเวณสถานีสูบน้ำหนองหินไปยังสถานีผลิตน้ำบ้านโกทาเพื่อเพิ่มความสามารถในการสูบน้ำดิบและก่อสร้างสถานีผลิตน้ำขนาด 48,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ที่บริเวณบ้านหนองบัวดีหมีโดยใช้น้ำจากแม่น้ำชี และวางท่อจ่ายน้ำขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มิลลิเมตร ถึง 600 มิลลิเมตร และคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2557
โครงการแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยวางแผนพิจารณาก่อสร้างสถานีผลิตน้ำและสถานีสูบน้ำดิบที่บริเวณเขื่อนอุบลรัตน์เพื่อแก้ปัญหาด้านคุณภาพน้ำจากลำน้ำพองที่มีปริมาณการปนเปื้อนมากขึ้นทุกปี เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้น้ำได้มีน้ำประปาใช้ในการอุปโภคบริโภคอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง
หลังจากนั้น นายนนทศักดิ์ ภู่ภัทรางค์ ได้พานักข่าวลงตรวจสภาพพื้นที่ และเยี่ยมชมระบบการผลิตน้ำประปาที่ สถานีโรงกรองน้ำบ้านโกทาโดย KTVเป็นสื่อที่จะสามารถช่วยประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้น้ำได้รับทราบข่าวสารอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และแพร่หลายถึงสาเหตุ สถานการณ์ภัยแล้งในครั้งนี้อีกด้วย
งานลูกค้าสัมพันธ์ รายงาน