ที่สุดของกระบวนการปรับปรุงการทำงานและการพัฒนา ความภาคภูมิใจของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาชุมพร 1 ใน 2 ในการผ่านการคัดเลือก Thailand KaiZen Award 2023 ด้วยผลงาน "การลดปริมาณน้ำล้างกรอง"

07 มิถุนายน 2566


ที่สุดของกระบวนการปรับปรุงการทำงานและการพัฒนา ความภาคภูมิใจของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาชุมพร  1 ใน 2 ในการผ่านการคัดเลือก  Thailand KaiZen Award 2023 ด้วยผลงาน "การลดปริมาณน้ำล้างกรอง"

วันที่ 6 มิถุนายน 2566 การประปาส่วนภูมิภาคสาขาชุมพร ร่วมให้การต้อนรับ นายนิธิศ ทองสะอาด ผู้ช่วยผู้ว่าการ (ทรัพยากรบุคคล) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารของ กปภ.ข.4 ประกอบด้วย นายประทีป กุศลวัฒนะ ผอ.กปภ.ข.4, ผอ.กองระบบผลิตและควบคุมคุณภาพน้ำ, นายสมเดช ใจสมุทร ผจก.กปภ.สาขาชุมพร และ นายวิทยา กำนล ผช.ผจก.กปภ.สาขาชุมพร พร้อมด้วยพนักงานในสังกัด ร่วมให้การต้อนรับ คณะกรรมการตรวจประเมินรางวัล Thailand Kaizen Award จากสมาคมส่งเสริม เทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น (สสท.) พร้อมนำเสนอผลงาน "การลดปริมาณน้ำล้างกรอง" ที่ส่งเข้าประกวด Thailand Kaizen Award 2023 ในวันที่ 6 มิถุนายน 2566 ณ กปภ.สาขาชุมพร โดย กปภ.สาขาชุมพร ได้อธิบายกระบวนการคิดและมูลเหตุในการสร้างสรรค์ผลงาน ตลอดจนการปรับปรุงกระบวนการทำงานเดิมให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในการลงทุน พร้อมนำชมขั้นตอนการกรองน้ำและล้างน้ำกรองในระบบผลิต ณ สถานีผลิตน้ำนาชะอัง อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร สำหรับผลงานในครั้งนี้ กปภ.สาขาชุมพร ส่งเข้าประกวดในประเภท Genba Kaizen โดยเป็นการปรับปรุงกระบวนการทำงานในส่วนขั้นตอนการล้างกรอง ซึ่งมีปริมาณน้ำสูญเสียมากที่สุด จึงได้วิเคราะห์ปัญหาและคัดเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา โดยกำหนดแผนการปฏิบัติงานใหม่ในส่วนของการใช้น้ำล้างกรองและระยะเวลาการล้างกรอง พร้อมควบคุมคุณภาพการกรองให้เป็นไปตามมาตรฐานด้วย โดยผลลัพธ์หลังจากปรับปรุงกระบวนการทำงานพบว่า สามารถลดน้ำสูญเสียในระบบผลิตได้ดีกว่าเป้า และลดต้นทุนการผลิตได้ 1.7 ล้านบาทต่อปี ซึ่งการประปาส่วนภูมิภาคสาขาชุมพร ศึกษาด้านการเพิ่มประสิทธิภาพทรายกรอง การทำความสะอาดทรายกรอง ตักตะกอนหน้าทรายทิ้ง การซ่อมประตูน้ำใส ประตูน้ำย้อน ปรับปรุงป้ายระดับน้ำล้างกรองขึ้น การปรับปรุงพัฒนา ด้านไคเซ็นนั้นได้มีการวางแผนและลงมือทดลอง ดังกล่าวพบว่าลดน้ำสูญเสียในระบบผลิต ลดต้นทุนการผลิตน้ำประปาได้จริง และเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่าเป้า
โครงการดังกล่าว กปภ.สาขาชุมพร เป็น 1 ใน 2 ผู้ผ่านการคัดเลือกจาก สสท. Thailand KaiZen Award 2023 ซึ่งเกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานจริงเชื่อถือได้ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบน้ำประปาอย่างได้มาตรฐานสามารถเป็นแนวทางในการจัดการทรัพยากรน้ำต่อไป
ไคเซนเป็นเทคนิควิธีอันหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานขององค์กร คำว่า "Kaizen" เป็นศัพท์ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งหากแยกความหมายตามพยางค์แล้วจะแยกได้ 2 คำ คือ
"Kai" แปลว่า การเปลี่ยนแปลง (change)
"Zen" แปลว่า ดี (good)
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีก็คือการปรับปรุงนั่นเอง ซึ่งโดยหลักการแล้วเป็นการปรับปรุงงานโดยการทำงานให้น้อยลง ไคเซนเป็นเทคนิควิธีในการปรับปรุงงานโดย
มุ่งเน้นที่จะลดขั้นตอนในการทำงานลง เพื่อให้ได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สูงขึ้นและมุ่งปรับปรุงในทุกๆ ด้านขององค์กรเพื่อยกระดับชีวิตการทำงานของผู้ปฏิบัติงานให้
สูงขึ้นตลอดเวลา
สำหรับการปรับปรุงในแบบไคเซน (Kaizen) นั้น มีแนวคิด การปรับปรุงสมัยเก่า มักจะเน้นแต่การปรับปรุงใหญ่ๆ ที่ต้องลงทุนเป็นหลัก หรือต้องผ่านงานวิจัยและพัฒนา (R&D: Research & Development) เช่น ใช้เทคโนโลยี ใหม่เครื่องไม้เครื่องมือใหม่ กระบวนการแบบใหม่ ซึ่งการปรับปรุงลักษณะนี้ก็คือ "Innovation" หรือ "นวัตกรรม" และมักเป็นภารกิจของระดับบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ส่วนพนักงานทั่วไปก็เป็นเพียงผู้ที่ "คอยรักษาสภาพ" ให้เป็นไปตามที่หัวหน้ากำหนดไว้ไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการปรับปรุงมากนัก แต่ในความเป็นจริง การรักษาสภาพก็ไม่ใช่เรื่อง ง่าย เพราะสภาพที่ดีมักจะค่อยๆ ลดลง และจะกลับมาดีขึ้นเมื่อเกิด Innovation ในครั้งถัดไป
แนวคิดของ Kaizen จึงเข้ามาเสริมจุดอ่อนที่เกิดขึ้นตรงนี้ คือ เป็นการปรับปรุงเพื่อการรักษาสภาพและปรับปรุงเพื่อให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทีละเล็กทีละน้อย ผสมผสานไปกับ การปรับปรุงแบบก้าวกระโดดหรือ Innovation
📍การเผยแพร่ภาพถ่ายได้รับอนุญาตจากบุคคลภายในภาพเรียบร้อยแล้ว

 
เลื่อนขึ้นข้างบน